ตารางธาตุ

วิวัฒนาการตารางธาตุ
       ตารางธาตุ หมายถึง ตารางที่นักวิทยาศาสตร์จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมธาตุต่าง ๆ เอาไว้ด้วยกันให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการศึกษา
       ปี พ.ศ.2360 (ค.ศ.1817) โยฮันน์ เดอเบอไรเนอร์  (Johann  Wolfgang Dobereinerนักเคมีคนแรกที่พยายามจัดธาตุเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ธาตุ  ตามสมบัติที่คล้ายคลึงกัน  เรียกว่า ชุดสาม (Triad) และพบว่า ธาตุกลางจะมีมวลอะตอมเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของอีกสองธาตุที่เหลือ


   ปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ.1864) จอห์น  อเล็กซานเดอร์  รีนา นิวแลนด์  (John Alexander Reina Newlands) นักเคมีชาวอังกฤษพบว่าถ้านำธาตุมาเรียงตามมวลอะตอม จากน้อยไปมากแล้ว  จะพบว่าธาตุที่ 8 จะมีสมบัติทางเคมีและกายภาพ คล้ายธาตุที่ 1  และจะเกิดขึ้นทุกๆ ช่วงของธาตุที่ 8 เรียกการจัดนี้ว่า Law of Octaves   กฎนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากไม่สามารถอธิบายได้ว่า  มวลอะตอมกับสมบัติที่คล้ายกันของธาตุนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร  และกฎนี้ใช้ได้ถึงแคลเซียม  (Ca)  ที่มีมวลอะตอม  40  เท่านั้น


       ปี พ.ศ. 24122413  (ค.ศ. 18691870)   ดิมิทรี  อิวาโนวิช  เมนเดเลเอฟ  (DmiTri Ivanovich Mendeleev)  นักเคมีชาวรัสเซียได้เสนอกฎที่เรียกว่า กฎพิริออดิก  ซึ่งเป็นกฎที่สำคัญทางเคมีเกี่ยวกับการจัดตารางธาตุ กฏพิริออดิก กล่าวว่า ถ้าจัดเรียงธาตุตามมวลอะตอมของธาตุจากน้อยไปมากธาตุที่มีสมบัติคล้ายกันจะปรากฎซ้ำกันและอยู่ตรงกันเป็นช่วง ๆ เมนเดเลเอฟได้นำธาตุมาเรียงกันตามมวลอะตอม โดยเว้นที่ว่างสำหรับธาตุที่ยังไม่พบในขณะนั้น แต่คาดว่าน่าจะมีธาตุที่มีสมบัติตามตำแหน่งนั้นอยู่ ต่อมาภายหลังได้มีการค้นพบธาตุมากขึ้น


       พ.ศ. 2546 (ค.ศ.1913) เฮนรี่ กวิน เจฟฟรีส์ โมสลีย์  (Henry   Gwyn   Jeffreys Moseley)  พบว่าการเรียงธาตุตามเลขอะตอม  (จำนวนโปรตอนหรืออิเล็กตรอน) จะสอดคล้องกับกฎพิริออดิกโดยไม่ต้องสลับที่ธาตุกันเหมือนการเรียงตามมวลอะตอม และได้นำมาใช้การจัดตารางธาตุในปัจจุบัน


สมบัติของธาตุตามหมู่และคาบ
ขนาดอะตอม
       การบอกขนาดอะตอมจะบอกโดยใช้รัศมีอะตอม ซึ่งมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองที่มีแรงยึดเหนี่ยวอะตอมไว้ด้วยกันหรือที่อยู่ชิดกัน รัศมีอะตอมมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของแรงที่ยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม

– รัศมีโคเวเลนต์ คือ ระยะทางครึ่งหนึ่งของความยาวพันธะโคเวเลนต์ระหว่างอะตอมชนิดเดียวกัน



– รัศมีแวนเดอร์วาลล์ คือระยะทางครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ใกล้ที่สุด





– รัศมีโลหะ คือ ระยะทางครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมโลหะที่อยู่ใกล้กันมากที่สุด


แนวโน้มขนาดอะตอมในตารางธาตุ


แนวโน้มของขนาดไอออนในตารางธาตุ


พลังงานไออนไนเซชัน (Ionization Energy; IE)


อิเล็กโตรเนกาติวิตี (Electronegativity; EN)


สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electron Affinity; EA)


จุดเดือดและจุดหลอมเหลว


  เลขออกซิเดชัน (Oxidation Number)


เลขออกซิเดชันของธาตุในตาารางธาตุ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น